1. อย่างแรก ผู้ที่จะเริ่มออกกำลังกายควรจะต้องตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ว่าเราต้องการให้เกิดผลออะไรหลังจากการออกกำลัง เช่น คุณผู้หญิงอยากต้องการลดน้ำหนักตัว(Weight Loss) คุณผู้ชายต้องการมีมัดกล้ามเนื้อ(Muscle Strength) หรือคุณตาคุณยายอยากให้ร่างกายเดินได้นานมากขึ้นซึ่งก็คือมีความอดทน(Endurance) มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งการตั้งเป้าหมายนั้น ต้องเป็นเป้าหมายที่ไม่สูงเกินไปนักและเราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง
2. เมื่อเราตั้งเป้าหมายแล้วว่าต้องการผลอะไรในการออกกำลังกาย ขั้นต่อมาก็ควรหาแบบฝึกหรือวิธีการที่ถูกต้องและเพียงพอและไม่มากจนเกินไป(Overload) ซึ่งจะทำให้เราประสบผลสำเร็จตามที่เราคาดหวังไว้ได้
3. วิธีการฝึก รวมไปถึงความหนักในการฝึก ความนาน และความบ่อยในการฝึกนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการฝึก ทั้งนี้แต่ละท่านมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ควรสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย(Fitness Trainer) จะเหมาะสมที่สุด
วัตถุประสงค์หลักการออกกำลังกาย มีอยู่ 2 รูปแบบ
1. เพื่อรักษาสุขภาพของร่างกาย เช่นผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนักตัว รวมถึงผู้ที่ต้องการให้ร่างกายแข็งแรงทำงานได้ตามปกติ เป็นต้น และใช้เวลาในการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย40 นาทีขึ้นไป โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย อยู่ที่ 30% – 60% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งวิธีการนี้เราเรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Training) คือ เป็นการออกกำลังกายโดยใช้ออกซิเจนเป็นหลัก
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย เช่น นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องการให้ร่างกายมีมัดกล้ามเนื้อดูเฟิร์ม เป็นต้นและใช้เวลาในการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย20 นาทีขึ้นไป โดยขณะออกกำลังต้องมีอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย อยู่ที่ 60% – 80%ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งวิธีการนี้เรา เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก(Anaerobic Training) คือ เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่นักกีฬาหรือ ผู้ที่ออกกำลังกายแบบนี้มักใช้วิธีการแบบผสมผสานมากกว่าการใช้วิธีใดวิธีการหนึ่งอย่างเดียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดกีฬาและประเภทของการออกกำลังกายเป็นหลัก
การออกกำลังหมายถึงกิจกรรมที่ทีกระทำแล้วทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี มีความฟิต การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง
การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง
หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกาย อาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย